Hub
(ฮับ)
Hub (ฮับ)
หรือบางทีก็เรียกว่า "รีพีตเตอร์ (Repeater)" คือ
อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มของคอมพิวเตอร์ Hub มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งไปยังทุก
ๆ พอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Hub จะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย
ฉะนั้นยิ่งมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับ Hub มากเท่าใด
ยิ่งทำให้แบนด์วิธต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องลดลง ในท้องตลาดปัจจุบันมี Hub
หลายชนิดจากหลายบริษัท ข้อแตกต่างระหว่าง Hub เหล่านี้ก็เป็นจำพวกพอร์ต
สายสัญญาณที่ใช้ ประเภทของเครือข่าย และอัตราข้อมูลที่ Hub รองรับได้
การที่อุปกรณ์เครือข่ายอีเธอร์เน็ตสามารถทำงานได้ที่ความเร็ว 2 ระดับ เช่น 10/100 Mbps นั้น
ก็เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องนั้นมีฟังก์ชันที่สามารถเช็คได้ว่าอุปกรณ์
หรือคอมพิวเตอร์ที่มาเชื่อมต่อกับ Hub นั้นสามารถรับส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดเท่าใด
และอุปกรณ์นั้นก็จะเลือกอัตราข้อมูลสูงสุดที่รองรับทั้งสองฝั่ง
ฟังก์ชันนี้จะเรียกว่า "การเจรจาอัตโนมัติ (Auto-Negotiation)" ส่วนใหญ่ Hub หรือ Switch ที่ผลิตจะมีฟังก์ชันนี้อยู่
เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอีเธอร์เน็ตที่ความเร็วต่างกันได้ ถ้ามีอุปกรณ์เครือข่าย
หรือคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้ากับ Hub และแต่ละโหนดสามารถส่งข้อมูลได้ในอัตราที่ต่างกัน
Hub ก็จะเลือกอัตราส่งข้อมูลที่อัตราความเร็วต่ำสุด
เนื่องจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้จัออยู่ในคอลลิชันโดเมน (Collision Domain) เดียวกัน ตัวอย่างเช่น ถ้า LAN การ์ดของคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งสามารถรับส่งข้อมูลได้ที่่
10 Mbps ส่วน LAN การ์ดของคอมพิวเตอร์ที่เหลือสามารถรับส่งข้อมูลได้
10/100 Mbps แล้วคอมพิวเตอร์เหล่านี้เชื่อมต่อเข้ากับ Hub
เดียวกันที่รองรับอัตราความเร็วที่ 10/100 Mbps เครือข่ายนี้ก็จะทำงานที่ความเร็ว 10 Mbps เท่านั้น
แต่ถ้าเป็น Switch อัตราความเร็วจะขึ้นอยู่กับความเร็วของคอมพิวเตอร์
เนื่องจาก Switch จะแยกคอลลิชันโดเมน
ความเร็วในการรับส่งข้อมูลของฮับ
• ความเร็วต่ำสุดคือ 10 MBPS
• ความเร็วสูงสุดคือ 100 MBPS
• บางรุ่นรองรับทั้ง 10 และ 100 เรียกว่า 10/100 MBPS : MBPS ย่อมาจาก Megabit
Per
Second (เมกกะบิตต่อวินาที)
hub นั้นทำงานในระดับ layer 1
ซึ่งเป็น layer เกี่ยวข้องกับ เรื่องของการส่งสัญญาณออกไปสู่
media หรือ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสาร
รวมไปถึงเรื่องของการเข้ารหัสสัญญาณเพื่อที่จะส่งออกไปเป็นค่าต่างๆในทางไฟฟ้า และ
เป็น layer ที่กำหนดถึง การเชื่อมต่อต่างๆที่เป็นไปในทาง physical
hub นั้น จะทำงานในลักษณะของการทวนสัญญาณ หมายถึงว่า
จะทำการทำซ้ำสัญญาณนั้นอีกครั้งซึ่งเป็นคนละอย่างกับการขยายสัญญาณพอทำแล้วก็จะส่งออกไปยังเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่โดยจะมีหลักว่า
จะส่งออกไปยังทุกๆ port ยกเว้น port ที่เป็นตัวส่งสัญญาณออกมาและเมื่อปลายทางแต่ละจุดรับข้อมูลไปแล้ว
ก็จะต้องพิจารณา ข้อมูลที่ได้มา ว่าข้อมูลนั้นส่งมาถึงตัวเองหรือไม่
ถ้าหากไม่ใช่ข้อมูลที่จะส่งมาถึงตัวเอง
ก็จะไม่รับข้อมูลที่ส่งมานั้นการทำงานในระดับนี้ ถ้าดูในส่วนของตัว hub เองนั้น จะเห็นได้ว่า ตัวของ hub นั้นเวลาส่งข้อมูลออกไป
จะไม่มีการพิจารณาข้อมูลอย่างพวก Mac address ของ layer
2หรือ IP addressซึ่งเป็นของ layer 3 เลย
ประเภทของ
Hub
- Intelligent Hub เป็นฮับที่สามารถจัดการควบคุม
บางอย่างกับโหนด ที่เชื่อมต่ออยู่ เช่น
การอนุญาตให้ผู้บริหารระบบเครือข่ายควบคุมแต่ละพอร์ตได้อย่างอิสระ
ไม่ว่าจะเป็นการสั่งให้ทำงาน หรือ หยุด ทำงานก็ตาม Intelligent Hub บางประเภท สามารถเฝ้าติดตาม กิจกรรมของระบบเครือข่ายได้ เช่น
ติดตามจำนวนแพ็กเกจที่ส่งผ่าน และการเกิดความ ผิดพลาดขึ้นในแพ็กเกจเหล่านั้น
- Standalone Hub เป็นอุปกรณ์ภายนอกที่เชื่อมต่อ เข้ากับ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นฮับที่พบ
เห็นโดยทั่วไป ซึ่งไม่มีความสามารถในการจัดการ มีเฉพาะความสามารถในการ เชื่อมต่อไปยังฮับ
ตัวอื่น เท่านั้น
- Modular Hub เป็นฮับที่สามารถจัดการได้โดยมีลักษณะเป็น
การ์ดสล็อต การ์ดแต่ละ ตัวจะมีการ ทำงานเช่นเดียวกับ Standalone Hub 1 ตัว การใช้ฮับ ประเภทนี้ทำให้สามารถขยาย ระบบเครือ ข่ายได้โดยง่าย
บางตัวก็สามารถสนับสนุน การเชื่อม ต่อกับเครือข่ายได้มากกว่า 1 ประเภท เช่น ใช้ได้กับ ระบบ เครือข่ายทั้งแบบ Ethernet และ Token Ring
ฮับที่นิยมใช้มี
2ประเภท คือ
1. Small Hub มีจำนวนพอร์ต RJ-45 ประมาณ 4, 5, 8, 12 และ 16
พอร์ต แล้วแต่รุ่น เหมาะกับระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มากนัก
ประมาณ 3-16 เครื่อง
2. Rack
mount Hub ขนาดความกว้าง 19 นิ้ว พอร์ต RJ-45
มีมากตั้งแต่ 12, 16, 24 ถึง 48 พอร์ต เหมาะสำหรับใช้งานในเครือข่ายขนาดใหญ่
ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 12 เครื่องขึ้นไป
ฮับใหญ่บางรุ่นจะมี Fiber Module สำหรับเชื่อมโยงอุปกรณ์ผ่านใยแก้วนำแสง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น