Switch
Layer3 ดีกว่า Switch Layer2 อย่างไร
Ethernet Switch ที่พบเห็นและใช้งานโดยทั่วไปมากกว่า
95 % มักจะเป็น Switch Layer2 แทบทั้งสิ้นโดยมี
คุณสมบัติต่าง ๆ กัน เริ่มจากระดับ Entry Level ก็มักจะมีคุณสมบัติเฉพาะการ
Switch ระหว่าง Port ต่าง ๆ ของตัวเองเท่านั้น
รองรับ MAC Address ได้ไม่มากนัก มักจะเรียก Switch พวกนี้ว่า Desktop Switch มีราคาถูกลงมาก
จะพบว่าถูกนำมา เชื่อมกับ PC โดยตรงแทนที่ HUB เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนในระดับสูงขึ้นมา ก็จะมีคุณสมบัติในการทำ VLAN
, Manage มี MAC Address มากขึ้นและอื่น ๆ
เพิ่มเติม แน่นอน ราคาก็จะสูงขึ้นด้วย จึงมักถูกนำมาใช้งานกับ Network ที่ต้องการประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นหรือเป็น work group ที่ต้องต่อเชื่อมกับ
HUB หลายชุด เพื่อรองรับ PC User จำนวน
มาก ๆ
คุณสมบัติของ Layer 2 Switch ดังกล่าวจัดอยู่ใน
OSI Standard ในระดับ Data Link หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า
Layer 2 ส่วนใน Layer3 ซึ่งเรียกว่าเป็น
Layer ที่ต้อง มีคุณสมบัติ ของการ Routing เพื่อใช้ประโยชน์ในการต่อเชื่อม และ
คุณสมบัติ VLAN แบ่ง PC ออกเป็น
Network ย่อยหลาย ๆ Network หรือ
เรียกกันทั่วไปว่า Multi-LAN อาจจะมีคำถามว่าทำไมต้องแบ่ง Network
ออกเป็น Network ย่อย ๆ
เป็นวงเดียวกันให้รู้จัก
กันหมดไม่ดีกว่าหรือ คำตอบก็คือ วิธีการรับส่งข้อมูลของ Ethernet ที่เราใช้กันแพร่หลายที่สุดนั้น จะใช้การ Broadcast ข้อมูลออกไปทุก PC ที่ต่อเชื่อม ถ้ามีจำนวนมากก็จะเสียเวลาและมีข้อมูลวิ่งใน Network มาก เกิด Traffic Jam ในระบบได้ จึงมักออกแบบให้ใน WorkGroup หนึ่ง ๆ มี PC จำนวนไม่มากนักประมาณ 20 -40 เครื่อง เท่านั้น
กันหมดไม่ดีกว่าหรือ คำตอบก็คือ วิธีการรับส่งข้อมูลของ Ethernet ที่เราใช้กันแพร่หลายที่สุดนั้น จะใช้การ Broadcast ข้อมูลออกไปทุก PC ที่ต่อเชื่อม ถ้ามีจำนวนมากก็จะเสียเวลาและมีข้อมูลวิ่งใน Network มาก เกิด Traffic Jam ในระบบได้ จึงมักออกแบบให้ใน WorkGroup หนึ่ง ๆ มี PC จำนวนไม่มากนักประมาณ 20 -40 เครื่อง เท่านั้น
นอกจากการกำหนด VLAN หลาย ๆ Network เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูลแล้ว เรายังได้ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
เพิ่มเติมอีกด้วย เพราะจะกำหนดให้ PC ที่มีสิทธิ์เท่านั้นในการต่อเชื่อมเป็น
Network เดียวกัน ส่วน PC ใน Network
อื่น ๆ ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ต่อระหว่าง WorkGroup ต่อ Workgroup เข้าหากันเพื่อการรับส่งข้อมูลระหว่าง
2 Workgroup หรือ มากกว่าก็ได้
ด้านคุณสมบัติของการ Routing นี้ ซึ่งต้องทำงานด้วย Processor หรือ Controller
แบบไม่ซับซ้อนมาก จึงนำมาใช้งานกับ Switch ขนาดใหญ่
มักจะเป็น Chassis เสียส่วนมาก เรียกกันว่า Switch
Layer3 มีราคาแพงขึ้นมาก แต่ก็เหมาะในการใช้งานกับ Network ขนาดใหญ่ที่มี workGroup จำนวนมาก ๆ
สามารถได้ประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูลสูงขึ้น และเท่าเทียมกัน สำหรับ PC ที่ต่อเชื่อมอยู่ นอกจากนั้นยังควบคุมการเชื่อมต่อระหว่าง workgroup
ที่ต้องการได้อีกด้วยทำให้มีความปลอดภัยของข้อมูลที่สำคัญมากขึ้น Switch
ในระดับนี้ มักจะมี Software Network Management ควบคู่มาด้วย ใช้ในการ เปลี่ยนแปลง และ ควบคุมการเชื่อมต่อ , การตรวจสอบ bandwidth ที่ใช้งาน การแสดงสถานะของ Switch
ระดับล่าง Port หรือ Lancard นอกจากนั้น ยังใช้สำหรับการตรวจสอบจากระยะไกล
เพื่อการซ่อมบำรุงดูแลรักษาอีกด้วย
นอกจากนั้น Switch Layer3 บางตัวยังถูกเพิ่มเติม คุณสมบัติพิเศษอื่น
ๆ ในระดับ Layer4 ของ OSI Standard หรือที่เรียกกันว่า
Switch Layer4 เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นไปอีก แน่นอน
ราคาก็จะสูงขึ้นไปอีก แต่ก็คุ้มค่าทีเดียวกับประสิทธิภาพ การควบคุมระดับ นั้น ๆ
เพราะเป็นการลงทุนในระยะยาวมากที เดียว ต่างกับ PC ซึ่ง 2-3
ปี ก็ต้องเปลี่ยนกันใหม่อีกแล้วทั้งที่ยังไม่เสียเลย แต่เริ่มใช้งานกับ
Program บางตัวไม่ได้แล้ว
The
Layer 3 Solution
Layer 3 เป็นความสามารถหนึ่ง
ที่อยู่ใน Switch ซึ่งความเร็วในการ routing จะใกล้เคียงกับ ความเร็วของ Switch และ
เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การทำงานใน Network มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นได้
โดยรวมเอา ฟังก์ชั่นของ Router เข้าไว้ใน อุปกรณ์ Switch
, Intel Layer 3 Switch จะทำให้ การ routing ภายในระบบ
Lan ทำได้เร็วขึ้น
การ
routing ใน LAN จะทำให้ได้ความเร็วที่ใกล้เคียงกับความเร็วของ
Switch จะตัดปัญหาเรื่อง คอขวด (Bottle nack) , ยังช่วยรองรับในเรื่องของ การรองรับ ความเร็วของช่องสัญญาณได้มากขึ้นและ
สื่อประเภท มัลติมีเดีย
ข้อดี
1.ไม่ Broadcast สัญญาณไปทุก port
1.ไม่ Broadcast สัญญาณไปทุก port
2.มีความเร็วเพิ่มขึ้น 10 Gbps
3.ราคาลดต่ำลง
4.ง่ายในการเชื่อมต่อ
ข้อเสีย
1.ถ้าสวิตช์ที่สามารถเข้าไปบริหารจัดการได้ ต้องมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้น
1.ถ้าสวิตช์ที่สามารถเข้าไปบริหารจัดการได้ ต้องมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้น